วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Theory)

ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Theory)
            อรรถประโยชน์ (Utility) หมายถึง ความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดนั้นๆ สินค้าหรือบริการจะให้อรรถประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าหรือบริการนั้น ถ้ามีความต้องการมาก สินค้าหรือบริการจะให้อรรถประโยชน์จากการบริโภคมาก ตรงกันข้าม ถ้ามีความต้องการน้อย สินค้าหรือบริการจะให้อรรถประโยชน์จากการบริโภคน้อย
อรรถประโยชน์เพิ่มและอรรถประโยชน์รวม
            อรรถประโยชน์รวม (Total Utility : TU) หมายถึง ผลรวมของอรรถประโยชน์ทั้งหมดที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งตั้งแต่หน่วยแรกจนถึงหน่วยที่กำลังพิจารณาในขณะนั้น
            อรรถประโยชน์เพิ่ม (Marginal Utility : MU) หมายถึง อรรถประโยชน์หรือความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับเพิ่มขึ้น เมื่อบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดนั้นเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย
                                    MUn      =          TUn - TUn-1
                                    TUn      =          U1 + U2 +…..+ Un
หรือ                              TUn      =          MU1 + MU2 +…..+ MUn
โดยที่ :  MUn      = อรรถประโยชน์เพิ่มจากการบริโภคสินค้าหน่วยที่ n
            Un        = อรรถประโยชน์จากการบริโภคสินค้าหน่วยที่ n
            TUn      = อรรถประโยชน์รวมจากการบริโภคสินค้าหน่วยที่ n
ความพอใจที่เกิดขึ้นจากการบริโภคสินค้าในแต่ละหน่วย เรียกว่า ยูทิล (Util)” ความสัมพันธ์ของอรรถประโยชน์รวม (TU) และอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย (MU) สรุปได้ดังนี้ ในช่วงที่ค่า MU เป็นบวก ค่า TU จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ณ จุดที่ค่า MU เท่ากับศูนย์ ค่า TU จะมากที่สุดและในช่วงที่ค่า MU เป็นลบ ค่า TU จะลดลงเรื่อยๆ
กฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์เพิ่ม
กฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์เพิ่ม (Law of Dinimishing Marginal Utility) กล่าวว่าเมื่อผู้บริโภคได้รับสินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่งมาบริโภคเพื่อบำบัดความต้องการเพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆแล้ว อรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายหรืออรรถประโยชน์เพิ่มที่ได้จากสินค้าหรือบริการนั้นๆ จะลดลง จนในที่สุดเมื่อได้รับสินค้าหรือบริการนั้นมากเกินระดับหนึ่งแล้ว อรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย หรืออรรถประโยชน์เพิ่มของสินค้าหรือบริการนั้นอาจจะเท่ากับศูนย์หรือติดลบได้ ดังจะเห็นได้จากตารางต่อไปนี้
จากตาราง ในขณะที่ยังไม่ดื่มน้ำอรรถประโยชน์รวมและอรรถประโยชน์เพิ่มย่อมมีค่าเท่ากับ 0 ยูทิล เมื่อดื่มน้ำแก้วที่ 1 ผู้บริโภคจะได้รับอรรถประโยชน์เพิ่มเท่ากับ 8 ยูทิล ซึ่งจะเท่ากับอรรถ-ประโยชน์รวมพอดี เนื่องจากเป็นการดื่มน้ำแก้วแรก หลังจากนั้นถ้าดื่มน้ำแก้วที่ 2 เรื่อยไปจนถึงแก้วที่ 6 ผู้บริโภคจะได้รับอรรถประโยชน์เพิ่มตามข้อมูลจากตารางคือ 7, 5, 2, 0 และ -2 ยูทิลตามลำดับ ทำให้อรรถประโยชน์รวมเพิ่มเป็น 15, 20, 22, 22 และ 20 ยูทิลตามลำดับเช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจาก อรรถประโยชน์รวมจะมีค่าเท่ากับผลรวมของอรรถประโยชน์เพิ่มที่ได้รับจากการดื่มน้ำในแต่ละแก้ว จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าอรรถประโยชน์เพิ่มที่ได้รับจากการบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง (ในที่นี้คือน้ำ) จะมีลักษณะลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นไปตามกฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์เพิ่มดังกล่าว นอกจากนั้น เรายังพบว่าจากการที่อรรถประโยชน์รวมเท่ากับผลรวมของอรรถประโยชน์เพิ่ม ดังนั้นตราบใดที่อรรถประโยชน์เพิ่มยังมีค่าเป็นบวก (น้ำแก้วที่ 1-4) อรรถประโยชน์รวมจะมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและจะมีค่าสูงสุด (Max TU) เมื่ออรรถประโยชน์เพิ่มมีค่าเท่ากับศูนย์ (น้ำแก้วที่ 5) หลังจากนั้น เมื่ออรรถประโยชน์เพิ่มเริ่มมีค่าติดลบ อรรถประโยชน์รวมก็จะเริ่มมีค่าลดลง (น้ำแก้วที่ 6)      กฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์เพิ่มซึ่งสัมพันธ์กับอรรถประโยชน์รวมสามารถแสดงได้ดังกราฟ

3 ความคิดเห็น:

  1. ปรับปุงข้อมูลด้วยเพื่อความสมบูรณ์...และบอกที่มาด้วย

    ตอบลบ
  2. กรุณาเพิ่มเติม ตารางกับกราฟ ที่เขียนไว้..ด้วยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กราฟจิงๆต้องเป็นแบบไหนค่าบ

      ลบ